วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความรู้เกี่ยวกับกราฟิก


ผู้จัดทำ

นายปุริมปรัชญ์ ทัศนยิ้ม ม.4/3 เลขที่52
นางสาวพิมพ์วรีย์  อาทรวรางกูร ม.4/3 เลขที่53
นางสาวณัฐนรี มณีจักร ม.4/3 เลขที่54


ประวัติความเป็นมาของกราฟิก
  งานกราฟิก มีประวัติความเป็นมาตามหลักฐานในอดีต เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้ เรียกว่า Pictogram เช่นภาพคน ภาพสัตว์ ต้นไม้ ไว้บนผนังหรือบนเพดานถ้ำ และมีการแกะสลักลงบนเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ ซึ่งใช้วิธีการวาดอย่างง่ายๆไม่มีรายละเอียดมาก     ต่อมาประมาณ 9000 ปี ก่อนคริสต์กาล ชาว Sumerienในแคว้นเมโสโปเตเมีย ได้เริ่มเขียนตัวอักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) และตัวอักษร Hieroglyphic ของชาวอียิปต์ งานกราฟิกเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น เมื่อได้คิดค้นกระดาษและวิธีการพิมพ์ ปี ค.ศ.1440 Johann Gutenberg ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบตัวเรียง ที่สามารถพิมพ์ได้หลายครั้ง ครั้งละจำนวนมากๆ

 ในปี ค.ศ.1950 การออกแบบได้ชื่อว่าเป็น Typographical Style เป็นการพัฒนาโดยนักออกแบบชาวสวิส ได้นำวิธีการจัดวางตัวอักษรข้อความและภาพเป็นคอลัมภ์ มีการใช้ตารางช่วยให้อ่านง่ายมีความเป็นระเบียบ สวยงาม มีการจัดแถวของข้อความแบบชิดขอบด้านหน้าและด้านหลังตรงเสมอกัน   ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การออกแบบกราฟิก ได้พัฒนาและขยายขอบเขตงานออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่แต่ในสิ่งพิมพ์เท่านั้น โดยได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการสื่อสารอื่นๆเช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ การถ่ายภาพ โปสเตอร์ การโฆษณา ฯลฯ  การออกแบบกราฟิกปัจจุบัน เป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้นำเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำเร็จรูป มาช่วยในการออกแบบกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer Graphics ) มีโปรแกรมด้านการจัดพิมพ์ตัวอักษรที่นิยมกันมากคือ Microsoft Word สามารถจัดเรียง วางรูปแบบ สร้างภาพ กราฟ แผนภูมิ จัดการและสร้างสรรค์ตัวอักษร โปรแกรมอื่นๆที่สนับสนุนงานกราฟิกอีกมากมาย เช่น Adobe Photoshop / Illustrator / PageMaker / CorelDraw / 3D Studio / LightWave3D / AutoCadฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์งานกราฟิกบนเว็บ อีกมากเช่น Ulead Cool / Animagic GIF / Banner Maker เป็นต้น

           ปัจจุบันงานคอมพิวเตอร์กราฟิก จึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบ การออกแบบและสร้างสรรค์งานกราฟิกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้ความสะดวก รวดเร็ว แก้ไขงาน ทำซ้ำงานทำได้ง่าย ตลอดจนการสั่งพิมพ์ หรือบันทึกเพื่อการพกพาในรูปแบบอื่นๆได้หลายวิธี

บทบาทและความสำคัญของกราฟิก
  งานกราฟิกต่างถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนแก่นสารของประสบการณ์สำหรับมนุษย์
 เพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นสื่อในการคิดและสื่อสารความหมายถึงกัน  ด้วยคุณสมบัติที่ดีของงานกราฟิกทำให้งานกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการลดข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนเวลา  ประสิทธิภาพของการคิด   การบันทึกและการจำ  ทำให้การสื่อความหมายต่อกันของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ   ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและความเป็นโลกไร้พรมแดน  ความแตกต่างระหว่างบุคคล  เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานกราฟิกมากขึ้น         
 1)  ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ   
   มนุษย์ประสบความสำเร็จในการค้นพบความจริง และกระบวนการทางธรรมชาติมากมาย 
 ความรู้ที่ค้นพบใหม่นี้  ต้องการวิธีการและกระบวนการในการเก็บบันทึก  การจำ  และเผยแพร่ 
 การใช้งานกราฟิกช่วยจะทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถสื่อสารความหมายให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว
 สื่อความคิดถึงกันและกันได้ชัดเจนถูกต้อง  เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน
  2)  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 
  เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน 
ทำให้เกิดเครื่องมือสำหรับสร้างงานกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 
สามารถผลิตงานได้ รวดเร็ว  มีปริมาณมาก  ง่ายต่อการใช้งาน  ราคาถูกลง 
และเผยแพร่ได้สะดวกกว้างไกล โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ในงานกราฟิก
และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ความนิยมใช้งานกราฟิกช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบทุกประเภท

 3)  จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น และความเป็นโลกไร้พรมแดน 
   ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว  การคมนาคมที่สามารถเดินทางไปทั่วทุกมุมโลกด้วยเวลาไม่มากนัก 
และ การสื่อสารที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก  ทำให้เกิดความจำเป็นต่อการสื่อความหมายทางไกลระหว่างบุคคล
และการสื่อความหมายกับประชากรกลุ่มใหญ่ในมุมต่าง ๆ ของโลก  เพื่อดำเนินการถ่ายทอดความรู้
แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  ความร่วมมือทางวิชาการ  ธุรกิจ และอื่น ๆ
ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินการด้วยข้อจำกัดของเงื่อนเวลาและประสิทธิภาพของการสื่อความหมาย 
 งานกราฟิกจึงเป็นเครื่องผ่อนแรงให้การสื่อความหมาย  สามารถสื่อสารได้เข้าใจง่ายและถูกต้องในเวลาสั้น
  4)  ความแตกต่างระว่างบุคคล  บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ เช่น ความคิด
 ความเข้าใจ  ความสามารถ  อัตราการเรียนรู้  วิธีการเรียนรู้ และอื่น ๆ 
 ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การสื่อความหมายด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนในบางครั้งไม่สามารถสร้างความเข้าใจได้ง่ายนัก 
 การใช้งานกราฟิกเข้าช่วยจะทำให้ง่ายต่อการสื่อความหมาย  เพิ่มประสิทธิภาพของการคิดในบุคคลที่มีความแตกต่างได้เป็นอย่า งดี

ความหมายเกี่ยวกับกราฟิก
  กราฟฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก 2 คำคือ
1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน
2. Graphein หมายถึง การเขียน
ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้
........กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
กราฟิกประกอบด้วย
1. ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
2. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand
3. คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
4. HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)
.
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก
........คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
กราฟิกกับสังคมปัจจุบัน
........ปัจจุบันเทคโนโลยีได้วิวัฒนาการไปค่อนข้างรวดเร็ว การใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น มีการกระจายของข้อมูลไปอย่างรวดเร็ว โดยอาจเป็นการกระจายข้อมูล จาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และการที่จะให้คนอีกซีกโลกหนึ่งเข้าใจความหมายของคนอีกซีกโลกหนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ง่ายนักเนื่องมาจากความแตกต่างกันทั้งทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม สภาพภูมิประเทศ สภาพดินฟ้าอากาศความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการใช้งานกราฟิกที่ดีที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนถูกต้อง จะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกินจินตนาการร่วมกัน อีกทั้งยังเกิดทัศนคติที่ดีต่อกันด้วย หรือถึงขั้นคล้อยตามให้ปฏิบัติตามได้





ประเภทของภาพกราฟิก
1.           ภาพราสเตอร์ (Raster )
               หรือเรียกว่าภาพแบบ Bitmap ก็ได้ เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (pixels)  ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพน้อย เวลาขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพมาก ก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่  ดังนั้นการกำหนดจำนวนพิกเซลต้องให้เหมาะกับงานที่จะสร้าง

     ตัวอย่าง

               -  ภาพใช้งานทั่ว ๆไป ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 100-150 Pixel
               -  ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์ ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 72 Pixel
               -  ถ้าเป็นภาพแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่
                  จะกำหนดพิกเซลประมาณ 300-350 Pixel
    ข้อดีของภาพชนิด Raster
               -  สามารถแก้ไขปรับแต่งได้
               -  ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม

    นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Raster


นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.JPG, JPEG, JPE,.GIF
ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไป งานเว็บเพจ และงานที่มีความจำกัดด้านพื้นที่หน่วยความจำ
โปรแกรม Photoshop, PaintShopPro , Illustrator
.TIFF , TIF
เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร เพราะมีความละเอียดของภาพสูง
.BMP , DIB
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม PaintShopPro , Illustrator

      

2.           ภาพแบบ Vector
               เป็นภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบ Raster
      
       ข้อดีของภาพชนิด Vector
       -  นิยมนำไปใช้ในด้านสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน

      โปรแกรมที่นิยมนำมาสร้างภาพแบบ Vector
        -  โปรแกรม Illustrator
        -  CorelDraw
        -  AutoCAD
        -  3Ds max ฯลฯ

      นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Vector


นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.AI,.EPS
ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก เช่น การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก เป็นต้น
โปรแกรม Illustrator
.WMF
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม CorelDraw


หลักการทำงานและแสดงผลของกราฟิก
  หลักการทำงาน
          หลักการทำงานของภาพกราฟฟิก คือ ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ึ่งประกอบด้วย สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง สีมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี ประเภท คือ แบบ Raster กับ Vector
          หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้ว่าพิกเซล (Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้นการกำหนดพิกเซลจึงควรกำหนดจำนวนพิกเซลให้เหมาะกับงานที่สร้าง
          หลักการของกราฟิกแบบ Vector ป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายใน และการออกแบบต่างๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน เป็นต้น

การแสดงผลของภาพกราฟฟิก
2.1 การสร้างภาพแบบเวกเตอร์

     การสร้างภาพภาพแบบเวกเตอร์หรือสโตรก (Stroked display) เป็นการสร้างภาพบนจอภาพแบบเวกเตอร์ โดยการสร้างคำสั่งเพื่อลากเส้นเชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ให้เป็นรูปภาพที่ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่เก็บอยู่ในไฟล์ภาพเวกเตอร์มีลักษณะเป็นชุดคำสั่ง คล้ายภาษาโปรแกรมหรือสมการทางคณิตศาสตร์ โดยมีคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อบอกสี ขนาด หรือตำแหน่ง เช่นการสร้างรูปสามเหลี่ยม ก็จะมีองค์ประกอบที่เป็นเส้นลากผ่านจุดต่าง ๆ ทำให้เกิดรูปโครงร่างโดยรอบขึ้นมา พร้อมทั้งสามารถกำหนดสีของพื้นในโครงร่างนั้นได้
2.2 การสร้างภาพแบบบิตแมป
     เป็นการสร้างภาพภายในประกอบด้วยจุดภาพเล็ก ๆ เรียกว่าพิกเซล (pixel) การกำหนดตำแหน่งพิกเซลต่าง ๆ บนจอภาพบอกขนาดความกว้างยาวของรูปภาพ เพื่อให้เกิดภาพที่ต้องการ ซึ่งจะทำให้พิกเซลที่กำหนดเกิดการเรืองแสงเป็นรูปภาพ
                 โดยระบบการแสดงผลของภาพ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผล จะมีระบบการแสดงผลอยู่ โหมดคือเท็กซ์โหมดกับกราฟฟิกส์โหมด
1. เท็กซ์โหมด
เป็นระบบการแสดงผลพื้นฐานของจอภาพ ซึ่งแสดงผลในรูปของตัวอักษรหรือข้อความเท่านั้น ตัวอักษรที่ใช้แสดงจะมีการกำหนดรูปแบบหรือขนาดที่แน่นอนไว้แล้วในส่วนของ Character Generation ของการ์ดแสดงผล ดังนั้นจึงไม่สามารถแสดงผลที่เป็นรูปภาพต่าง ๆ ได้ ขนาดของการแสดงผลในเท็กซ์โหมด คือ แสดงผลของตัวอักษรมีจำนวน 25 แถว แต่ละแถวสามารถแสดงตัวอักษรได้ 80 ตัว
2. กราฟฟิกส์โหมด
 เป็นระบบการแสดงผลแบบรูปภาพ โดยใช้การ์ดแสดงผลในการควบคุมการแสดงรูปภาพให้อยู่ในลักษณะของพิกเซล ซึ่งรูปภาพที่ใช้ในการแสดงผลนี้ จะอยู่ในรูปของตัวอักษร ข้อความหรือรูปภาพโดยการควบคุมตำแหน่งของพิกเซลให้แสดงผลได้ตามที่ต้องการDisplay buffer เป็นตำแหน่งของหน่วยความจำ RAM (Read Access Memory) ขนาด 16 K-byte มีตำแหน่งเริ่มต้นที่ &HB800 สามารถติดต่อกับหน่วยความจำได้ วิธี โดยผ่าน CPU และ Graphics control unit ข้อมูลที่เก็บในดิสเพลย์บัฟเฟอร์จะถูกอ่านออกมา และผ่านการตีความหมายพร้อมแสดงผล ข้อแตกต่างเบื้องต้นของเท็กซ์โหมดกับกราฟฟิกส์โหมด คือข้อมูลที่เก็บในดิสเพลย์จะถูกแปลความหมายของข้อมูลแล้ว
             เมื่อต้องการสร้างภาพกราฟฟิกส์ จะต้องให้ภาพกราฟฟิกส์นั้นปรากฏบนจอภาพทันที ภาพที่ปรากฏบนจอภาพนั้นจะมีลักษณะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวก็ได้ การควบคุมการแสดงกราฟฟิกส์แบบทั่ว ๆ พิจารณาได้ดังนี้การแสดงผลด้วยจอภาพแบบราสเตอร์ จะใช้หน่วยความจำทำการควบคุมตำแหน่งพิกเซลบนจอภาพ หน่วยความจำที่ใช้ในการแสดงผลเรียกว่าบิตแพลน (Bit plane) โดยหน่วยความจำขนาด บิตสามารถควบคุมการแสดงผลของพิกเซลได้ จุด ดังนั้นถ้าจอภาพมีจำนวนพิกเซล n จุด จะต้องใช้หน่วยความจำควบคุมการทำงานจำนวน บิต
               และ การแสดงผลบนจอภาพสี จะต้องใช้หน่วยความจำทั้งหมดคือ 640 x480 x 3 = 921600 บิต หรือเท่ากับ 921600/8 = 115200ไบต์ ซึ่งประกอบด้วยเฟรมบัฟเฟอร์ที่ใช้ในการแสดงสี สี คือสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน และจอภาพต้องมีปืนยิงลำแสงอิเล็กตรอน สี เพื่อทำการผสมสีให้เกิดเป็นสีต่าง ๆ 


สีและแสงในการใช้กราฟิก
  การปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการตกแต่งภาพ เนื่องจากภาพภายหรือภาพสแกนอาจมีแสงไม่เพียงพอทำให้ภาพดูมืดไม่สวยงาม จึงมีเครื่องมือเพื่อใช้จัดการกับข้อบกพร่องของภาพถ่ายหรือภาพสแกนที่มีปัญหาด้านสีและแสง ซึ่งการใช้งานคำสั่งต่างๆ สามารถทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว
  การใช้คำสั่ง Imageในการปรับสีและแสงเงาของรูปภาพ
คำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพมีหลายคำสั่ง ซึ้งการใช้งานคำสั่งต่างๆ จะมีลักษณะการทำงานที่คล้ายกัน จึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะเลือกใช้คำสั่งต่างๆ  ซึ่งมีดังนี้

คำสั่ง Levels
เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพ เพื่อให้ภาพมีคุณภาพที่ดีขึ้น คือมีความมืดความสว่างพอดีและชัดเจน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
คลิกที่เมนู Image -> Adjusment -> Levels จะปรากฏหน้าต่าง Levels >Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสีและแสงเมื่อปรับภาพได้ตามต้องการแล้ว คลิกที่ปุ่ม OK

คำสั่ง Auto Levels
เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับความมืดและความสว่างให้กับภาพแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะปรับสีในแต่ละแชนเนลอย่างเป็นอิสระต่อกัน จึงอาจทำให้ภาพเกิดสีเพี้ยนได้ ดังนั้นควรใช่กับภาพที่มีโทนสีไม่ต่างกันมากเพื่อนลดความเพี้ยนของสี ซึ่งมีวิธีการใช้คำสั่ง คือ คลิกที่เมนู Image-> Adjustment-> Auto Levels

คำสั่ง Auto Contrast

คำสั่ง Auto Color

เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและความต่างระหว่างความมืดและความสว่างให้กับภาพแบบอัตโนมัติซึ่งช่วยแก้ปัญหาสีเพี้ยน โดยมีวิธีการคือ คลิกที่เมนู Image-> Adjustment-> Auto Color

คำสั่ง Curves
  เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพเหมือนคำสั่ง Levels แต่จะปรับแบบในลักษณะเส้นกราฟซึ่งสามารถกำหนดจุดเส้นได้ถึง 14 จุด จึงอาจทำให้สีเพี้ยนได้ เหมาะกับการสร้างเป็นเอฟเฟ็กต์ให้กับภาพ ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Curves จะปรากฏหน้าต่าง Curves

คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสีและแสง   คลิกที่เครื่องมือ เพื่อเลือกปรับแบบคลิกเมาส์ด้านซ้าย



คำสั่ง Color Balance

                เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับความสมดุลให้กับภาพหรือใช้เปลี่ยนสีภาพก็ได้  เหมาะกับการปรับแก้ภาพเก่าให้ดูใหม่ขึ้น หรือใช้สร้างเอฟเฟ็กซ์ให้กับภาพ เป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Color Balance จะปรากฏหน้าต่าง Color Balance
คลิกที่ Preserve Lumionsity เพื่อล็อกค่าความสว่างไว้ไม่ให้เปลี่ยนในขณะที่หรับสี
คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสีและแสงคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้แล้วลากไปในโทนสีที่ต้องการปรับเปลี่ยน โดยจะกำหนดโทนสีตรงข้ามกัน คือ สีฟ้า(Cyan) ตรงข้ามกับสีแดง (Red), สีม่วงแดง (Magenta) ตรงข้ามกับสีเขียว (Green) และ สีเหลือง(Yellow) ตรงข้ามกับสีน้ำเงิน (Blue) คลิกเลือกโทนการปรับสีและแสงเงาที่ตัวเลือก Tone Balance ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Shadows                            การปรับในโทนมืด

Midtone                              การปรับในโทนปานกลาง

Highlight                             การปรับในโทนสว่าง

คลิกที่ปุ่ม OK
คำสั่ง Brightness/Contrast



ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก
  1. กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต
      ไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ
   -ไฟล์สกุล GIF ( Graphics Interlace File)
   -ไฟล์สกุล JPG ( Joint Photographer's Experts Group)
   -ไฟล์สกุล PNG ( Portable Network Graphics)

         1.1ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File)
            เป็น ไฟล์กราฟิกมาตรฐานที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต มักจะใช้เมื่อ ต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและ ความละเอียดของภาพไม่สูงมากนัก ต้องการพื้นแบบโปร่งใส ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว
จุดเด่น : ขนาดไฟล์ต่ำ สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ ( Transparent) มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace มีโปรแกรมสนับการสร้างจำนวนมาก เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation)
จุดด้อย : แสดงสีได้เพียง 256 สี
         ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่ GIF87 พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1987 เป็นไฟล์กราฟิกรุ่นแรกที่สนับสนุนการนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ (Interlace) GIF89A พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1989 เป็นไฟล์กราฟิกที่พัฒนาต่อจาก GIF87 โดยเพิ่มความสามารถการแสดงผลแบบพื้นโปร่งใส ( Transparent) และการสร้างภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation) ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษโดยนำเอาไฟล์ภาพหลายๆ ไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพเหล่านั้นโดยอาศัยการหน่วงเวลา มีการใส่รูปแบบการนำเสนอลักษณะต่างๆ ( Effects) ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว

         1.2 ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group)
             เป็น อีกไฟล์หนึ่งที่นิยมใช้บน Internet มักใช้กรณี ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก (สนับสนุนถึง 24 bit color) ต้องการบีบไฟล์ตามความต้องการของผู้ใช้ ไฟล์ชนิดนี้มักจะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน และต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
จุดเด่น : สนับสนุนสีได้ ถึง 24 bit สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ ( compress files)
จุด ด้อย  : ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ ข้อเสียของการบีบไฟล์ ( Compress File)กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10) แม้ว่าจะช่วยให้ขนาดของไฟล์มีขนาดต่ำแต่ก็มีข้อเสีย คือ เมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์ ดังนั้นการเลือกค่าการบีบไฟล์ ควรกำหนดให้เหมาะสมกับภาพแต่ละภาพ

         1.3 ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)

จุดเด่น : สนับ สนุนสีได้ถึงตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit) สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด ( Interlace)
สามารถทำพื้นโปร่งใสได้
จุดด้อย : หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ
ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า สนับสนุนเฉพาะ IE 4 และ Netscape 4 ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย

2. กราฟิกสำหรับงานพิมพ์          
  2.1 TIFF (Tagged Image File Format)          
                     TIFF เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับ bitmap เท่านั้น พัฒนาขึ้นโดยความร่วมของ Aldus Corporation และ Microsoft TIFF เก็บบันทึกข้อมูลรูปภาพได้หลากหลายใน Tagged Field จึงกลายเป็นชื่อเรียกของรูปแบบไฟล์ ซึ่งแต่ละ Tagged Field สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ bitmap หรือชี้ไปยัง Field อื่นได้ ซอฟต์แวร์ที่อ่านไฟล์นี้สามารถข้ามการอ่าน Field ที่ไม่เข้าใจหรือไม่จำเป็นไปได้
        TIFF เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เนื่องจากมี Tagged Field ให้ใช้ต่างกันหลายร้อยชนิด ไฟล์แบบนี้จึงมีข้อดี คือ ใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกประเภท สามารถใช้ได้ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบ และกำหนดขอบเขตที่กว้างขวางของภาพ bitmap ได้ นอกจากนี้ TIFF ยังสามารถทำบางสิ่งที่ bitmap อื่นทำไม่ได้ และเป็นรูปแบบที่สนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh Tagged Image File Format
นามสกุลที่ใช้เก็บ TIF ระบบปฏิบัติการ Windows, UNIX, Mac Windows เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน 5.0 และ 6.0 ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Bitmap และโปรแกรม Desktop Publishing
เช่น PageMaker, QuarkXPress, CorelVentura, PhotoShop, PaintShop Pro ความสามารถทางด้านสี ขาวดำ 1 บิต, Grayscale (4,8, 16 บิต), แผงสี (ได้ถึง 16 บิต), สี RGB (ได้ถึง 48 บิต), สี CMYK (ได้ถึง 32 บิต)
การบีบขนาดข้อมูล LZW, PackBits (Macintosh), JPEG (TIFF v 6.0), RLE หลายรูปแบบ

         2.2 EPS (Encapsulated PostScript)            
                    EPS เป็นเซตย่อยของภาษาสั่งการในการจัดหน้าแบบ PostScript ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้อย่างแพร่หลายในการแลกเปลี่ยนรูปแบบภาพกราฟิก ไฟล์แบบ EPS สามารถบรรจุภาพที่ซับซ้อนและมีรายละเอียดอย่างสูงทั้งในรูปแบบ Vector และ Bitmap โดยใส่ไว้ในโปรแกรมการแก้ไข Vector และโปรแกรม Desktop Publishing กราฟิกแบบ EPS มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ จะต้องพิมพ์ออกในเครื่องพิมพ์แบบ PostScript เท่านั้น เพราะเครื่องพิมพ์ไม่สามารถแปลรหัสการพิมพ์ PostScript ได้ Encapsulated PostScript นามสกุลที่ใช้เก็บ EPS ระบบปฏิบัติการ Windows, Windows NT, UNIX, Mac Windows เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน EPS เป็นเซตย่อยของ Adobe PostScript
ซอฟต์แวร์ ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Vector และโปรแกรม Desktop Publishing เช่น AutoCAD, CorelDRAW, PageMaker, QuarkXPress, Adobe Illustrator ความสามารถทางด้านสี ขยายได้ถึง 24 บิต RGB และ HSB 32 บิต, CMYK, Grayscale, แผงสีแบบอินเด็กซ์ การบีบขนาดข้อมูล การใส่รหัสแบบไบนารี

                2.3 PDF (Portable Document Format)                             
             PDF เป็นรูปแบบไฟล์ที่ใช้ในโปรแกรม Adobe Acrobat ใช้สำหรับเอกสารบนสื่ออิเล็คทรอนิกส์ เช่น บนอินเทอร์เน็ตหรือบริการออนไลน์ต่างๆ เนื่องจากเป็นไฟล์ขนาดเล็กทำให้สามารถสร้างเอกสาร เช่น โบร์ชัวร์ หรือ แค็ทตาล็อกส่งไปทางอินเทอร์เน็ตได้ ใช้ได้กับทั้งแบบ Bitmap และ Vector และสนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh
             PDF เหมาะสำหรับเอกสารทางเทคนิคที่จะเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ผู้อ่านสามารถพิมพ์ออกมาได้หรือเรียกดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะรูปแบบ อักษรที่ใช้ประกอบอยู่ในตัวซอฟต์แวร์แล้ว และเนื่องจากใช้ตัวอักษรแบบ PostScript ซึ่งเป็น vector-based จึงสามารถย่อและขยายได้ตามต้องการ โดยคุณภาพของงานไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งยังสามารถนำไปสร้างเป็นเอกสาร แบบ Illustration หรือ Bitmap ได้อีกด้วย และเมื่อพิมพ์ออกมาก็จะไม่เสียคุณภาพ ไม่ว่าจะใช้ค่าความละเอียดของภาพเป็นเท่าใด เช่นเดียวกับไฟล์ประเภท Vector อื่นๆ เช่น PS หรือ PRN นอกจากนี้ PDF เป็นไฟล์ที่ประกอบด้วยข้อมูล PostScript จึงสามารถนำไปใช้ในโปรแกรมตกแต่งแก้ไขภาพ หรือ โปรแกรมประเภท Illustration ได้เช่นเดียวกับ EPS Portable Document Format นามสกุลที่ใช้เก็บ PDF ระบบปฏิบัติการ Windows, Mac OS, UNIX และ Dos ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ PhotoShop, Acrobat ความสามารถทางด้านสี RGB, Indexed-Color, CMYK, GrayScale, Bitmap และ Lap Color


การประยุกต์ใช้งานกราฟิก
  
ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้การสื่อสารมีสีสันและชีวิตชีวามากขึ้น โดยการใช้ภาพกราฟิกมาประยุกต์ร่วมกับงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้งานดูสวยงามและดึงดูดใจให้น่าใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งแบ่งงานด้านภาพกราฟิกออกได้ดังนี้

1. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการออกแบบ
คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทกับงานด้านการออกแบบในสาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น งานด้านสถาปัตย์ออกแบบภายในบ้าน การออกแบบรถยนต์ การออกแบบเครื่องจักรกล รวมถึงการออกแบบวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมที่ใช้จะเป็นโปรแกรม 3 มิติ เพราะสามารถกำหนดสีและแสงเงาได้เหมือนจริงที่สุด อีกทั้งสามารถดูมุมมองด้านต่าง ๆ ได้ทุกมุมมอง

2. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านโฆษณา
ปัจจุบันการโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ได้นำภาพกราฟิกเข้ามาช่วยในการโฆษณาสินค้าเพื่อเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การทำหิมะตกที่กรุงเทพฯ การนำการ์ตูนมาประกอบการโฆษณาขนมเด็ก เป็นต้น และการโฆษณาสินค้าด้วยภาพกราฟิกยังมีอยู่ทุกที่รอบตัวเราไม่ว่าจะเป็นตามป้ายรถเมล์ ข้างรถโดยสาร หน้าร้านค้าตามแหล่งชุมชนต่าง ๆ เป็นต้น

3. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการนำเสนอ
การนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เป็นการสื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจในสิ่งที่ผู้สื่อต้องการ และการสื่อสารที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ภาพเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้รับสาร เช่น การสรุปยอดขายสินค้าในแต่ละปีด้วยกราฟ หรือการอธิบายระบบการทำงานของบริษัทด้วยแผนภูมิ เป็นต้น

4. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านเว็บเพจ
ธุรกิจรับสร้างเว็บเพจให้กับบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้นำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการสร้างเว็บเพจ เพื่อให้เว็บเพจที่สร้างมีความสวยงามน่าใช้งานยิ่งขึ้น

5. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้าน Image Retouching
ปัจจุบันธุรกิจคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ใช้ในการ Retouching ภาพ ได้เปิดตัวขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของคนในการทำภาพตามจินตนาการได้เป็นอย่างดี เช่น การทำภาพผิวกายให้ขาวเนียนเหมือนดารา การทำภาพเก่าให้เป็นภาพใหม่ การทำภาพขาวดำเป็นภาพสี และการทำภาพคนแก่ให้ดูหนุ่มหรือสาวขึ้น เป็นต้น


อุปกรณ์ Input/Output & Import /Export Devices

  อุปกรณ์input
 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่
1.               แป้นพิมพ์(Keyboard)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร
2.               เมาส์(Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
3.               แทร็กบอล(Track Ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่  แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน
4.               จอยสติก  (Joy Stick)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง  ซ้ายขวา  เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้
5.               เครื่องอ่านบาร์โค๊ต  (Bar Code Reader)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ (Bar Code)ซึ่งประกอบด้วยแถบสีดำและยาว ความกว้างของแถบสีดำตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลข
6.               สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล  โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ  เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล  แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป
7.               เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง  (Optical Character Reader:  OCR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่างๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็ค  ตัวอักษรบนเอกสารอื่นๆ
8.               เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์
9.               ปากกาแสง (Light Pen)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดนการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ  มักใช้ในงานออกแบบ
10.         จอสัมผัส  (Touch Screens)  เป็นอุปกรณ์สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ  เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM
11.         กล้องถ่ายภาพดิจิตอล  (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ  ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ในอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์
12.         ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง  เสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอล  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้


อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง    
หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล  ได้แก่
1.             เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน  ลักษณะของเทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูลคล้ายกับเทปแม่เหล็กที่ใช้ในการบันทึกเสียง
2.             จานแม่เหล็ก (Magnetic  Disk)  เป็นหน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (DASD: Direct Access Storage Device)การบันทึกและการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็กใช้หลักการเดียวกับเทปแม่เหล็ก  แต่การเข้าถึงเนื้อที่เก็บข้อมูลนั้นๆ อาศัยตำแหน่งที่ถูกกำหนดโดยระบบปฏิบัติการ
3.             จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk: Diskette) เป็นจานแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สร้างจากแผ่นไมลาร์ (Mylar) ฉาบด้วยเหล็กออกไซด์  เป็นจานแม่เหล็กแผ่นเดียว  และห่อหุ้มด้วยพลาสติก
4.             ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นหน่วยความจำสำรองที่มีหลักการเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กส่วนที่เก็บข้อมูลทำจากแผ่นโลหะ  เรียกว่า  แพลตเตอร์ (Platters)  และฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ ส่วนที่เป็นเครื่องอ่านฮาร์ดดิสก์ถูกออกแบบให้เป็นชุดเดียวกันกับส่วนเก็บข้อมูล
5.             ซีดีรอม  (CD-ROM: Compact Disk Read Only Memory) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล  โดยใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์  เป็นเทคโนโลยีเดียวกับซีดีเพลง  การบันทึกข้อมูลบน CD-ROM ต้องใช้เครื่องมือพิเศษจากบริษัทผู้ผลิต  ข้อมูลบน CD-ROM จะถูกเรียงกันเป็นแถวยาวจับเป็นก้นหอย
6.             ซีดี- อาร์ (CD-R: CD-Recordable) เป็น CD ที่สามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ เรียกว่า CD-R Drive โดยการติดตั้งไดร์ฟนี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์  ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลจากการประมวลผล  ลงบน CD-R ได้  รวมทั้งการอ่านข้อมูลจาก CD-R ได้ด้วย
7.             วอร์มซีดี (WORM CD: Write One Read Many CD) เป็น CD ที่บันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียว  แต่สามารถอ่านข้อมูลกี่ครั้งก็ได้  ความจุตั้งแต่ 600 MB  ถึง 3 GB ขึ้นไป  ซึ่งเมื่อบันทึกข้อมูลจากเครื่องใดจะต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกัน
8.             เอ็มโอดิสก์ (MO: Magneto Optical  Disk) เป็นจานแม่เหล็กที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็กและเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ร่วมกัน  ทำให้การบันทึกและการอ่านข้อมูลทำได้หลายครั้งเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กทั่วไป  ขนาดของดิสก์ใกล้เคียงกับดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว  แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย
9.             ดีวีดี (DVD: Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล  แผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 GB  ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็น 600 KB ต่อวินาที  เครื่องอ่านดีวีดีสามารถใช้กับซีดีรอมได้ด้วย

อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
อุปกรณ์แสดงผล  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก  ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์  ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ
1.               จอภาพ  (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น
2.               เครื่องพิมพ์ (Printer)  เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ สามารถแบ่งเครื่องพิมพ์ตามวิธีการพิมพ์ได้    2 ประเภท คือ  1. เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ  2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ
3.               เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์  โดยการสร้างรูปภาพแบบทางวิศวกรรม  ทางสถาปัตยกรรม  ซึ่งเป็นภาพขนาดใหญ่  มีรายละเอียดเช่นเดียวกับระบบเคด หรือพิมพ์เขียว
4.               เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง  ลำโพง   เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง  ที่เกิดจากการ์ดเสียง   หน้าที่หลักคือ เมื่อการ์ดเสียงเปลี่ยนสัญญาณเสียงดิจิตอลให้เป็นกระแสไฟฟ้า  ผ่านมายังลำโพงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กและเกิดการสั่นสะเทือนของลำโพง  มีผลทำให้เกิดเสียงในระดับต่างๆ


http://nantana-nan1231.blogspot.com/2012/02/2-input-device.html




อุปกรณ์output
อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ( Output Device ) เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาจะมีทั้งข้อมูลตัวอักษร, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง เป็นต้น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ( Display device ) เป็นอุปกรณ์สำหรับการแสดงผลในรูปแบบกราฟิกและผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อไฟดับหรือปิดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลงไปจะไม่สามารถเห็นได้อีก บางครั้งนิยมเรียกอุปกรณ์ประเภทนี้ว่า soft copy นั่นเอง เช่น
เทอร์มินอล ( Terminal ) มักพบเห็นได้กับจุดบริการขาย ( POS-Point Of Sale ) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือจุดให้บริการลูกค้าเพื่อทำรายการบางประเภท เช่น ตู้รายการฝากถอน ATM อัตโนมัติ จอภาพของเทอร์มินอลจะมีขนาดเล็กกว่าจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์
 จอซีอาร์ที ( CRT Monitor ) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี การทำงานจะอาศัยหลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่าหลอดรังสีคาโธด ( cathode ray tube ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับหลอดภาพของโทรทัศน์ และตัวจอภาพก็มีลักษณะเหมือนกับจอภาพของโทรทัศน์ มีหลายขนาดตั้งแต่ 14,15,16,17,19,20 และ 21 นิ้ว เป็นต้น (แนวโน้มการใช้งานปัจจุบันจะเลือกใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานได้ดีกว่าจอภาพขนาดเล็ก โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้พื้นที่สำหรับทำงานบนจอภาพมาก ๆ เช่น การสร้างภาพกราฟิกหรือการออกแบบงาน 3 มิติ เป็นต้น)





จอแอลซีดี ( LCD Monitor ) เป็นอุปกรณ์แสดงผลอีกแบบหนึ่ง อาศัยการทำงานของโมเลกุลชนิดพิเศษเรียกว่า ผลึกเหลวหรือ liquid crystal ในการแสดงผล (LCD = Liquid Crystal Display ) ซึ่งเมื่อมีสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังแต่ละจุดบนจอ ผลึกเหลว ณ จุดนั้นจะมีการบิดตัวของโมเลกุลเป็นองศาที่แตกต่างกัน ทำให้แสงที่ส่องจากด้านหลังจอผ่านได้มากน้อยต่างกัน และเกิดภาพสีต่าง ๆ ขึ้น แต่เดิมนิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ค ปัจจุบันได้นำมาใช้กับเครื่องพีซีทั่วไปบ้างแล้ว เนื่องจากมีขนาดบาง เบาและสะดวกในการเคลื่อนย้ายมากกว่า อีกทั้งยังไม่เปลืองพื้นที่สำหรับการทำงานด้วย แต่ปัจจุบันยังมีราคาที่แพงกว่าจอแบบซีอาร์ทีพอสมควร




โปรเจคเตอร์ ( Projector ) นิยมใช้สำหรับการจัดประชุม สัมมนา หรือการนำเสนอผลงาน ( presentation ) ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมจำนวนมากได้เห็นข้อมูลภาพกราฟิกต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เป็นเหมือนอุปกรณ์ช่วยขยายภาพขนาดเล็กจากจอภาพธรรมดาให้ไปแสดงผลลัพธ์เป็นภาพขนาดใหญ่ที่บริเวณฉากรับภาพ


2. อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน ( Print Device )
เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่แสดงออกมาให้อยู่ในรูปแบบข้อมูล รายงาน รูปภาพ หรือแผนที่ซึ่งสามารถจับต้องหรือเก็บรักษาไว้ได้อย่างถาวร นิยมเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ Hard copy อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการพิมพ์งานมีดังนี้
เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์( Dot matrix Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในองค์กรธุรกิจทั่วไป เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำงานพิมพ์โดยอาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ผ้าหมึก( ribbon ) และตัวกระดาษโดยตรงจึงเหมาะสมกับการพิมพ์เอกสารประเภทใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบส่งของ หรือรายการสั่งซื้อที่จำเป็นต้องมีสำเนาเอกสาร(copy ) เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางการบัญชี นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องพิมพ์แบบกระทบ(impact printer ) แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการทำงานที่เป็นสี นอกจากนี้คุณภาพของงาน ความคมชัด และความเร็วยังต่ำกว่าเครื่องพิมพ์แบบอื่นๆ จึงมีความนิยมใช้ลดลง ถึงแม้มีราคาไม่สูงนักก็ตาม



เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์( Laser Printer ) ผลลัพธ์ที่ได้จากการพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ซึ่งอาศัยหัวพิมพ์กระทบลงไปในกระดาษเหมือหลักการของเครื่องพิมพ์ดีดนั้น ทำให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ไม่ชัดเจน จึงนิยมใช้เครื่องพิมพ์ประเภทเลเซอร์เข้ามาแทนเนื่องจากมีความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบนี้อาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ฉายลงไปยังหลอดสร้าง( drum ) ภาพที่ได้รับการกระตุ้นของแสง แล้วฉีดผงหมึกเข้าไปยังบริเวณที่มีประจุอยู่(ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารนั่นเอง) จากนั้นให้กระดาษวิ่งมารับผงหมึก แล้วไปผ่านความร้อนเพื่อให้ภาพติดแน่น ข้อดีคือภาพที่ได้มีความละเอียดสูงมาก และความเร็วก็สูง แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนา (copy ) เหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ได้ นอกจากนี้ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องพิมพ์งานสีได้แล้ว โดยใช้ผงหมึก 4 สีผสมกัน ซึ่งราคาเครื่องเริ่มลดลงมากแล้ว แต่ผงหมึกก็ยังแพงอยู่



เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต ( Ink-jet Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีการทำงานโดยอาศัยน้ำหมึกพ่นลงไปบนกระดาษตรงจุดที่ต้องการ และสามารถเลือกใช้ได้ทั้งหมึกสีและขาวดำ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกอาจมีทั้งแบบราคาถูกที่ใช้งานตามบ้านทั่วไปสำหรับพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฏิทิน หรือพิมพ์บนกระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ หรืออาจพบเห็นได้กับเครื่องพิมพ์ในบางรุ่นที่นิยมใช้กันในงานธุรกิจ เช่น งานพิมพ์โปสเตอร์หรือภาพสีขนาดใหญ่ แต่ก็มีราคาที่แพงตามไปด้วย


พลอตเตอร์ ( Plotter ) เป็นเครื่องพิมพ์เพื่อแสดงผลลัพธ์อีกประเภทหนึ่ง มักใช้กับการพิมพ์เอกสารที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากและไม่สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องขนาดเล็กได้ การทำงานใช้กลไกบังคับปากกาให้ขีดลงบนกระดาษโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น ภาพโฆษณา แผนที่ แผนผัง แบบแปลน เป็นต้น อย่างไรก็ดีอาจพบเห็นเครื่องพลอตเตอร์นี้ค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตได้เข้ามาแทนที่เกือบหมดแล้ว


3. อุปกรณ์ขับเสียง ( Audio Device )
ลำโพง ( Speaker ) ข้อมูลที่เป็นแบบเสียงจะไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ไปยังจอภาพของคอมพิวเตอร์ได้ แต่จะอาศัยอุปกรณ์แสดงผลเฉพาะที่เรียกว่า ลำโพง ( speaker ) เพื่อช่วยขับเสียงออก ปัจจุบันมีราคาถูกมากตั้งแต่ร้อยกว่าบาทจนถึงหลักพัน นิยมใช้สำหรับการแสดงผลในรูปของเสียงเพลงหรือเสียงประกอบในภาพยนตร์รวมถึงเสียงที่ได้จากการพูดผ่านไมโครโฟน


หูฟัง ( Headphone ) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับฟังข้อมูลประเภทเสียงเช่นเดียวกัน นิยมใช้สำหรับการฟังเสียง เช่น ฟังเพลง หรือเสียงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นแบบส่วนตัว ในบางรุ่นอาจพบได้ทั้งหูฟังและไมโครโฟนอยู่ในตัวเดียวกัน มีให้เลือกหลายชนิดทั้งแบบที่มีสายเชื่อมต่อและแบบไร้สาย ราคาของหูฟังอาจจะมีตั้งแต่ราคาไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและยี่ห้อของบริษัทผู้ผลิตด้วย

โดยปกติทั้งหูฟังและลำโพงจะต่อสัญญาณเสียงแบบอนาล็อก ( analog ) คือสัญญาณเสียงทั่ว ๆ ไปเหมือนในวิทยุหรือโทรทัศน์ จากช่องเสียบสัญญาณที่ซาวด์การ์ดในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีลำโพงและหูฟังบางแบบอาจใช้การต่อสัญญาณเสียงในแบบดิจิตอลจากพอร์ต USB ของเครื่องออกมาแทน แล้วแปลงกลับเป็นเสียงแบบที่เราได้ยินกัน โดยใช้วงจรภายในตัวเอง ซึ่งจะลดเสียงรบกวนจากอุปกรณ์อื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ แต่หูฟังหรือลำโพงแบบนี้ก็จะมีราคาแพงกว่า
   


โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบทาง Graphic Design
  
  เมื่อรู้จักอุปกรณ์ที่สำคัญในคอมพิวเตอร์กันไปแล้วต่อไปจะแนะนำโปรแกรมหลักๆ3โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีดังนี้
1.โปแกรมIllustrator
         Illustrator
       โปรแกรม Illustrator เป็นโปรแกรมที่ใช้วาดภาพที่มีชื่อเสียงมาก ใช้ในการวาดภาพกราฟิก แบบ Vector ที่จะพบได้มากก็พวกวาดการ์ตูน หรือวาดภาพตามใบปริว แผ่นพับต่าง รวมถึงภาพในนิตยสารต่าง ถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีความนิยมมากโปรแกรมหนึ่ง
        ในงานออกแบบกราฟิก โปรแกรม ตระกูล Adobe นับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในเรื่องของงานดังกล่าว นักออกแบบทุกหน่วยงานที่มักจะหาโปรแกรมเหล่านี้มาใช้ เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ใช้ได้ง่าย สีสันสวยงาม เหมาะแก่การผลิตชิ้นงานต่างๆ รวมทั้งยังมีบรรดา Plug-in ต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย และสามารถหาดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ทั่วไป ทำให้ผู้ออกแบบสามารถพัฒนางานกราฟิกออกมาได้หลากหลายและสวยงามแปลกตามากยิ่งขึ้น อีกทั้งปัจจุบัน Adobe ได้พัฒนาโปรแกรมเหล่านี้จนถึงเวอร์ชั่น Adobe Creative Suit 3 ทำให้บรรดาโปรแกรมกราฟิกในชุดนี้มีลูกเล่นเพิ่มเติม เหมาะสำหรับนักออกแบบกราฟิกผู้ซึ่งต้องการค้นหาสิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ แม้ว่าบางคนยังฝังใจและคุ้นชินกับเวอร์ชั่นเก่าๆ ที่ใช้งานง่ายกว่าและค่อนข้างจะสนับสนุนการทำงานในโซนของประเทศไทย เนื่องจากเวอร์ชั่นเก่าๆนั้นสามารถรองรับภาษาไทยได้ดี ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสระลอย ซึ่งอย่างไรก็ตามนักออกแบบไทยหลายท่าน ยังได้หาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยใช้ software ช่วย หรือหาวิธีแก้โดยใช้เทคนิคที่มีอยู่ในโปรแกรม แล้วแต่ถนัดของแต่ละคน
        Adobe Illustrator CS2 เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน ที่ผู้เขียนใช้อยู่ แม้ว่าบริษัทของ Adobe จะพัฒนาไปสู่เวอร์ชั่น CS3 แล้วก็ตาม อันที่จริงก็อยากจะปรับเวอร์ชั่นให้ตามเทคโนโลยีแต่ ปัญหาด้าน hardware ที่ไม่เอื้ออำนวย เพราะยิ่งเวอร์ชั่นสูงเท่าไหร่ ก็จะขโมยหน่วยความจำของเครื่องเรามากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนลูกเล่นให้มากขึ้นนั่นเอง
Adobe Illustrator เป็นโปรแกรมการทำงานด้านกราฟิกตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นการสร้างชิ้นงานจากการวาด เปรียบได้ว่าเป็นผืนผ้าใบผืนใหญ่ที่สามารถทำให้คุณบรรจงสร้างสรรค์ชิ้นงานการวาดภาพผ่านหน้าจอ คอมพิวเตอร์ โดยมีเมาส์เป็นเสมือนพู่กันในการแต่งแต้มลวดลายต่างๆ พร้อมด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลื่อต่างๆ ทั้งดินสอ พู่กัน ยางลบ สีต่างๆ และอุปกรณ์อื่นๆ ให้เรียบร้อย ทำให้นักออกแบบสามารถนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ทั้งออกแบบลายเสื้อผ้า โฆษณา เว็บไซต์ รวมถึงการวาดภาพในรูปแบบของ clip art โดยชั้นงานสำคัญที่ประจักษ์แก่สายตานั่นคือ Clip art ในชุดโปรแกรมของไมโครซอฟท์นั่นเอง
        รู้จักโปรแกรม Illustrator
        โปรแกรมพื้นฐานที่นักออกแบบทุกคนต้องเรียนรู้ในการสร้างงานกราฟิกมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ โปรแกรมประเภทวาดภาพ และโปรแกรมประเภทตกแต่งภาพ
        Illustrator คือ โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ โดยจะสร้างภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า Vector Graphic จัดเป็นโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในการออกแบบระดับสากล สามารถทำงานออกแบบต่างๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์

            Illustrator ทำอะไรได้บ้าง
     illustrator ให้เราสามารถสร้างภาพโดยเริ่มจากหน้ากระดาษเปล่า โดยใน illustrator จะมีทั้งปากกา พู่กัน ดินสอ และอุปกรณ์วาดภาพอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราสามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ
           
        งานานสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นโบร์ชัวร์ นามบัตร หนังสือ หรือนิตยสาร เรียกได้ว่างานสิ่งพิมพ์แทบทุกชนิดที่ต้องการความคมชัด
            งานออกแบทางกราฟิก  การสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือ การออกแบบสกรีน CD-ROM และการออกแบบการ์ดอวยพร ฯลฯ
        งานทางด้านการ์ตูน   ในการสร้างภาพการ์ตูนต่างๆนั้น โปรแกรม illustrator ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยในการวาดรูปได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นโปรแกรมที่ถนัดงานเกี่ยวกับภาพลายเส้นอยู่แล้ว
        งานเว็บไซด์บนอินเตอร์เน็ต  ใช้ภาพตกแต่งเว็บไซด์ส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป้นแบคกราวด์หรือปุ่มตอบโต้ แถบหัวเรื่องจนภาพประกอบต่างๆที่ปรากฏบนกน้าเว็บ
2.โปแกรม Photoshop
           Adobe PhotoShop
                โปรแกรม Adobe Photoshop (เรียกสั้นๆว่า Photoshop) เป็นผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์จากบริษัท Adobe System Incorporated ประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพ และการตกแต่งภาพที่เป็นที่นิยมมากที่สุอในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพ และผลงานที่ได้เหมาะที่จะน่าไปใช้กับงานสิ่งพิมพ์ นิตยาสาร งานด้านมัลติมีเดีย และการสร้างภาพกราฟฟิกสำหรับเว็บที่นับวันกำลังพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง

                เวอร์ชันแรกของ Photoshopได้ออกสู่สายต่ชาวโลกตั้งแต่ปีค.ศ. 1990 ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา Adobe มีการพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง  โดยการนำเอาโปรแกรมAdobe ImageReady ซึ่งเป็นโปรแกรมตกแต่งภาพสำหรับเว็บไซต์เข้ามาเป็นเป็นส่วนหนึ่งของชุด Photoshop ด้วย ยิ่งทำให้มีความสามารถหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้Photoshop สามารถใช้ได้ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบPC และคอมพิวเตอร์แบบMacintosh จงยิ่งทำให้โปรแกรมPhotoshop เป็นจ้าวครองตลาดด้านซอฟต์แวร์ในหารตกแต่งกราฟฟิกที่ดีที่สุด

                หากกล่าวถึงความสามารถของPhotoshop ว่าทำอะไรได้บ้างนั้น อาจต้องบรรยายสรรพคุณกันนานมาก แต่โดยสรุปแล้ว Photoshop มีความสามารถหลักอยู่ 2 ประการคือ

     1.   แก้ไขตกแต่งภาพถ่าย หรือภาพกราฟฟิก งานด้านนี้เป็นงานที่ Photoshop ถนัดนักกล่าวคือ Photoshopนั้น ถูกสร้างขึ้นเพื่องานด้านนี้โดยเฉพาะ ถ้ามีภาพถ่ายที่ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก หรือต้องการจะตกแต่งสีสันแก้ไขริ้วรอย เพิ่มความมืดความสว่างของภาพ หรือแม้แต่การนำเอาภาพถ่ายแนวนอนหลายๆภาพมาต่อกันให้เป็นภาพแบบ Panorama (ภาพที่มีขนาดยาวมาก) ก็สามารถใช้เครื่องมือที่โปรแกรมเตรียมมาไว้ให้ทำงานได้อย่างสบาย

      2.  ออก แบบสร้างสรรค์งานกราฟฟิก(สำหรับเว็บไซต์) นอกจากความสามารถในหารแก้ไข แต่งเติมแล้ว โปรแกรมยังมีความสามารถด้านการสร้างผลงานขึ้นเองได้ด้วย เช่น งานวาดและลงสีตัวการ์ตูน งานออกแบบสิ่งพิมพ์ งานด้านการสร้างารรค์ตัวอักษรและลวดลายแปลกๆ รวมถึงความสามารถในงานออกแบบและสร้างสรรค์องค์ประกอบต่างๆสำหรับเว็บไซต์ ซึ่งมีโปรแกรมคู่หูอย่าง ImageReady มาช่วยด้วย

องค์ประกอบสำคัญในการทำ Web ให้ ดูน่าสนใจ คงหนีไม่พ้นรูปภาพที่นำมาตกแต่ง ซึ่งผู้พัฒนาหลายๆ คน บ้างก็นำภาพสำเร็จมาใช้งาน บ้างก็นำภาพจากเวบอื่นๆ ที่ดูสวยงามมาใช้ และก็มีไม่น้อยที่สร้างภาพเอง โดยอาศัยโปรแกรมกราฟิกต่างๆ เช่น PhotoShop, PhotoImpact, Paint Shop เป็นต้น

โปรแกรม PhotoShop นับ ว่าเป็นโปรแกรมกราฟิกสุดฮิต ที่นิยมใช้ในการปรับแต่งภาพ หรือสร้างภาพ เพื่อนำมาใช้งานในเวบ เนื่องจากมีฟังก์ชันการทำงาน ที่หลากหลาย มีฟิลด์เตอร์เพื่อปรับแต่งภาพ จากค่ายต่างๆ ทำให้ง่ายต่อการปรับแต่งภาพตามต้องการ เดิมทีนิยมใช้ PhotoShop เพื่องานสื่อสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) แต่ปัจจุบัน Web Design มีบทบาทในงานธุรกิจและงานการศึกษาสูงมาก จึงนำ PhotoShop มาใช้ในงานนี้ด้วย

การทำภาพกราฟิกเพื่อใช้ในงานเวบ มีหลักการเฉพาะ แตกต่างไปจากงานสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งเรื่องความละเอียดของภาพ (Resolution) ที่ใช้แค่ 72 dpi หรือจำนวนสีที่ใช้แสดงผล เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาถึง ลักษณะเฉพาะในการใช้ PhotoShop สร้างกราฟิกในงานเวบ จึงเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจอีกศาสตร์หนึ่ง

เตรียมให้พร้อมก่อนการใช้งาน
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม
เนื่องจาก Photoshop เป็นโปรแกรมที่ทำวานเกี่ยวกับกราฟฟิก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้อง
มีสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง มีหน่วยความจำ RAM และ HARDDISK ที่มีความเร็วสูง
และมีพื้นที่ว่างมากๆ
สเปคเครื่องที่แนะนำ
- ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows
- เครื่องคอมพิวเตอร์ทีมี CPU ความเร็วระดับ 400 MHz ขึ้นไป
- RAM ควรมี 128 Mb ขึ้นไป
- Harddisk ความเร็วรอบ 7,200 รอบ ความจุ 10 G ขึ้นไป
- VGA card ต้องมีความสามารถแสดงผลได้ 256 สีขึ้นไป
- Monitor 15“ ขึ้นไป (แนะนำควรเป็น 17”)
- CD-ROM
- เมาส์-คีย์บอร์ด
3.โปรแกรม Coreldraw
        Corel DRAW
        เป็นโปรแกรมจำพวกจัดการรูปภาพชนิดหนึ่ง ซึ่งรูปภาพดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่เกิดจาก จุด เส้น สี และอื่น ๆ ซึ่ง จุด เส้น สี และอื่น ๆ ที่ถูกสร้างด้วยโปรแกรม Corel DRAW นั้นจะสูตรทางคณิตศาสตร์ กำหนดค่าต่าง ๆ อย่างชัดเจนซึ่งค่าต่าง ๆ เหล่านี้ก็ได้มาจากการที่ผู้ใช้วาดภาพด้วยเครื่องมือต่าง ๆ แล้วตัวโปรแกรมจะสร้างสูตรต่าง ๆ ที่เหมาะสมให้เอง จากนั้นถึงแสดงผลออกมาเป็น จุด เส้น สี และอื่น ๆ ตามที่เราต้องการ เพราะ การทำงานที่เป็นสูตรต่าง ๆ นั้นเอง ที่มีทั้งค่าคงที่ และตัวแปร ทำให้เมื่อเราขยาย หรือย่อขนาดภาพ ตัวโปรแกรม CorelDRAW ก็จะนำค่าที่เปลี่ยนแปลง (เพราะปรับขนาด) มาคำนวนอีกทีแล้วถึงค่อยแสดงผล ทำให้ภาพนั้น ๆ คมชัดเสมอ และเพราะสิ่งเหล่านี้ เราจะเรียกภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะนี้ว่า ภาพแบบ vector base (ยังมีภาพแบบ raster อีกประเภทซึ่งจะไม่ขอกล่าวในตอนอื่น) ด้วย ลักษณะของการสร้างภาพดังย่อหน้าที่กล่าวมา บวกกับแนวคิดของโปรแกรม CorelDRAW ที่ยึดหลัก object (ผมก็ไม่รู้ว่าเขาเรียกว่าไงนะ แต่มันประมาณนี้) ซึ่งกล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโปรแกรม CorelDRAW จะมองเสมือนเป็นวัตถุ (object) หนึ่ง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติของตัวมันเอง เช่นเส้นหนึ่งเส้นก็จะมีคุณสมบัติที่เราสามารถแก้ไขได้ เช่น ตำแหน่ง ความหนา และอื่น ๆ ทำให้หลาย ๆ คนที่พึ่งเคยจับ CorelDRAW ครั้งแรก อาจจะมึนงงกับ interface ไปบ้าง เพราะว่ามันทั้งเยอะ และเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งที่มันจะทำงานด้วยอยู่เสมอ แต่ถ้าเราทำความเข้าใจกับหลักการที่อิงวัตถุ และวัตถุมีคุณสมบัติของตัวมันเอง จะทำให้เราเข้าใจ CorelDRAW ได้ง่ายขึ้น ตรง เรื่องการอิงเรื่องวัตถุของ CorelDRAW นั้นต่างจากโปรแกรมคู่แข่งอย่างเช่น Illustrator อย่างเห็นได้ชัด Illustrator นั้นจะไม่อิงการทำงานแบบวัตถุให้เห็นซักเท่าไหร่ อีกทั้ง interface ต่าง ๆ ก็ไม่มากนักทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่ามันง่ายกว่า
    vector คืออะไร?

            vector เป็นกราฟฟิคประเภท resolution-independent มีลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วน

เป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนทั้งหมดของภาพ ออกเป็น เส้นตรง หรือเส้นโค้ง โดยการอ้างอิง

ตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวน เป็นตัวสร้างภาพ เป็นการรวมเอา object

(เช่น วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์และอื่นๆ เรียกว่ารูปทรงพื้นฐาน)ต่างชนิดมาผสมกัน

มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกัน โดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพ

ประเภทนี้ว่า vector graphic หรือ object oriented

ลักษณะเด่นของ vector คือสามารถยืด และหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียด
ของภาพไม่เปลี่ยนแปลง คงคุณภาพของภาพไว้เหมือนเดิม และยังขยายเฉพาะความกว้าง หรือ
ความสูง เพื่อให้มองเห็นเป็นภาพที่ผอม หรืออ้วนกว่าภาพเดิมได้ด้วย และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ
bitmap ภาพแบบ vector จึงเหมาะสำหรับงานแบบวาง layout งานพิมพ์ตัวอักษร line art หรือ
illustration



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น